芭蕾起源 บทความ บัลเลกำเนิดที่ฝรั่งเศสจริงเหรอ

สอนบัลเลย์

บทความ: บัลเลกำเนิดที่ฝรั่งเศสจริงเหรอ?

การเต้นรำเพื่อความบันเทิง เฟื่องฟูช่วงปลายศตวรรษที่ 15-16 ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าการแสดงโลดโผน ละครใบ้ บทสนทนา และบทเพลงผสมผสานกัน มีจุดประสงค์รับใช้ราชสำนักเป็นหลัก ประชาชนเป็นรอง

สำหรับบัลเล่ต์เป็นศิลปะการเต้นรำที่พระนางแคเธอรีนแห่งเมดีซี (Catherine de Medici) นำไปพัฒนาที่ฝรั่งเศส เมื่อพระนางอภิเษกกับกษัตริย์อองรีที่ 2 ในตอนนั้นการแสดงบัลเล่ต์กินเวลานานกว่า 5 ชั่วโมง

บัลเล่ต์ทำให้สตรีในราชสำนักมีโอกาสร่วมเต้นรำด้วย หลังจากที่เคยจำกัดอยู่ในวงของบุรุษ แต่บทนางเอกของเรื่องก็ยังกำหนดให้ผู้ชายแสดงอยู่ดี ส่วนผู้หญิงได้เล่นแต่บทเล็กๆ นอกจากนั้นผู้หญิงยังถูกจำกัดท่าทางการเต้นด้วยเครื่องแต่งกายที่ฟูยาว ขณะที่ผู้ชายแต่งตัวด้วยชุดรัดรูป ทำให้มีอิสระในการเคลื่อนไหวขามากกว่าไม่ว่า การหมุน การซอยเท้า การกระโดดซับซ้อนขึ้น รวมทั้งการยืนบนปลายเท้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการเต้นบัลเล่ต์

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นผู้มีอิทธิพลมากในการทำให้การเต้นรำในราชสำนักกลายเป็นการเต้นรำเพื่ออาชีพ พระองค์ร่วมแสดงละครบัลเล่ต์เรื่อง “La nuit” ทั้งระดมผู้คนทั้งในราชสำนัก นักการเมือง และผู้มีพรสวรรค์ทุ่มเทพัฒนาการแสดงเต้นรำ ในค.ศ.1661 ทรงก่อตั้งสถาบันการเต้นรำอาชีพและสถาบันการดนตรีแห่งราชสำนัก และในปี 1671 จึงมีโรงเรียนสอนเต้นรำ ที่กรุงปารีส ซึ่งเปิดกว้างสู่สามัญชน

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17-18 มีการก่อตั้งมูลนิธิของบัลเล่ต์ เพื่อพัฒนาการเต้นให้ดียิ่งขึ้น เช่นการใช้เท้าที่ซับซ้อนและเป็นธรรมชาติมากขึ้น ขณะที่นักเต้นบัลเล่ต์หญิงเริ่มมีบทบาทเด่นมากขึ้น ในปี 1681 นักเต้นหญิงมีโอกาสขึ้นเวที โดย Marie de Carmargoเป็นหนึ่งในนักเต้นบัลเล่ต์หญิงที่มีชื่อเสียงด้านระบำปลายเท้าที่ว่องไวและซับซ้อน เธอยังเป็นผู้ที่ตัดกระโปรงบัลเล่ต์ให้สั้นลง 2-3 นิ้ว เพื่อให้เต้นสะดวกขึ้น

การปฏิวัติของมารีไม่ได้รับการยอมรับนัก กระทั่ง 50 ปีผ่านไป ในปีค.ศ.1760 ผู้เชี่ยวชาญบัลเล่ต์เริ่มตั้งคำถามถึงข้อจำกัดซึ่งยึดหลักศิลปะ และข้อจำกัดที่ไม่จำเป็น

ปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการคือ ฌองจอร์จ

โนแวร์ ผู้เสนอแนวคิดการพัฒนาบัลเล่ต์ให้เป็นแบบฉบับศิลปะที่เป็นจริงเป็นจัง เพราะเห็นว่าบัลเล่ต์ควรเป็นวิธีที่ใช้แสดงความคิดทางละครผ่านทางการผสมผสานที่สมบูรณ์แบบของการเต้นรำ ละคร และตัวละคร

เขาแลกเปลี่ยนความคิดของเขากับนักเรียน นักเต้นรำ และผู้ออกแบบท่าเต้นในเวลานั้น

แต่มีอยู่เพียงท่านเดียวที่นำแนวความคิดของโนแวร์ไปปฏิบัติคือ โดแบร์วาล ผู้ออกแบบท่าเต้นทิ่ยิ่งใหญ่ เขาออกแบบท่าเต้นรำและสร้างตัวละครสามัญชนในละครเรื่อง La Fille Mal Gardeปีค.ศ.178
https://www.facebook.com/Melodyplusmusicschool/posts/1431197766899692:0

MelodyPlus, MusicSchool, โรงเรียนดนตรี, โรงเรียนสอนดนตรี, สถาบันดนตรี, สถาบันสอนดนตรี, หลักสูตรดนตรี, ดนตรี, ดนตรีเด็กเล็ก, สอนดนตรี, สอนเต้น, สอนเปียโน, piano, สอนกีตาร์, guitar, สอนไวโอลิน, violin, สอนบัลเลย์, ballet, ปิ่นเกล้า, เด็กอนุบาล, ของเด็กน้อย, เด็กน้อย, เซ็นทรัลปิ่นเกล้า, Central Pinklao, โรงเรียนสอนร้องเพลงเด็ก, สอนร้องเพลง, เด็ก

--------------------------------------------------------------------------------------------
หากสนใจ เรียนได้ทุกสาขา
สาขาวัชรพล 029455660
สาขาแคราย 029508966
สาขาพระราม3 022948173
สาขาปิ่นเกล้า 028847717
Line@: http://line.me/ti/p/%40musicschool
Facebook: https://www.fb.com/Melodyplusmusicschool